ชนิดและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานปรับค่าได้ การต่อโพเทนชิโอมิเตอร์
ตอนนี้จะอธิบายชนิดและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานปรับค่าได้ ตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขามีชื่อเรียกเฉพาะว่าโพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) อ้างอิงข้อมูลจาก wikipedia คำว่า " โพเทนชิโอมิเตอร์ " มีที่มาจากวิชาเครื่องมือวัดโดยตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขานี้ใช้เป็นวงจรแบ่งแรงดัน ( Voltage Divider ) เพื่อวัดแรงดันไฟฟ้าหรือโพเทนเชี่ยล ( Potential ) จึงเรียกว่าโพเทนชิโอมิเตอร์ โพเทนชิโอมิเตอร์นิยมใช้กับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ วงจรควบคุมและใช้เป็นวอลลุ่มปรับเสียง ถ้าใช้กับวัตต์สูง ( มากกว่า 1W ) จะเรียกว่า รีโอสแตต (rheostat) ซึ่งรีโอสแตตจะเน้นปรับกระแสและใช้กับส่วนพาวเวอร์ ส่วนโพเทนชิโอมิเตอร์นิยมใช้กับงานน้อยกว่า 1W ซึ่งเป็นงานคอนโทรลสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
โพเทนชิโอมิเตอร์ (ตัวเล็ก) และรีโอสแตต(ตัวใหญ่ ) ซึ่งโครงสร้างเป็นเส้นลวด (ไวร์วาวด์ )
การใช้งานโพเทนชิโอมิเตอร์จะใช้งานแค่ 2 ขาเพื่อเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้
หรือใช้งานทั้ง 3 ขาเป็นวงจรแบ่งแรงดันก็ได้ ส่วนรีโอสแตต
(rheostat)จะใช้งาน 2 ขาเพื่อเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้และใช้ปรับกระแส
เปรียบเทียบสัญลักษณ์ของตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขาหรือโพเทนชิโอมิเตอร์และสัญลักษณ์ของตัวต้านทานปรับค่าได้
2 ขา
สัญลักษณ์ของตัวต้านทานปรับค่าได้
3 ขาหรือโพเทนชิโอมิเตอร์
สัญลักษณ์ของตัวต้านทานปรับค่าได้ 2 ขา
การใช้งานโพเทนชิโอมิเตอร์เป็นวงจรแบ่งแรงดันเพื่อวัดแรงดันไฟฟ้าหรือโพเทนเชี่ยล
( Potential ) จึงเรียกว่าโพเทนชิโอมิเตอร์
โดยแรงดันที่ตกคร่อมโหลด RL = แรงดันที่ตกคร่อม R2 เมื่อหมุนปุ่มปรับของโพเทนชิโอมิเตอร์จะทำให้แรงดันตกคร่อม
R1 และ R2 เปลี่ยนไป
ชนิดของตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขา
จากกราฟด้านล่างเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมุมการหมุนและค่าความต้านทานแบ่งออกเป็น
3 ชนิดคือ
1) Log ( Audio )
2) Linear
3) Inverse Log / Anti log นั้นคือโพเทนชิโอมิเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดโดยที่ตัวอุปกรณ์จะใช้สัญลักษณ์ ( Marking ) เพื่อระบุชนิดโดยโซนเอเชียและอเมริกาจะใช้อักษร A สำหรับชนิด Log ( Audio ) อักษร B สำหรับชนิด Linear และอักษร C สำหรับชนิด Inverse Log / Anti log อักษร C ใช้กับโซนอเมริกาเท่านั้น เอเชียยังไม่มี Marking นี้ ส่วนโซนยุโรปจะใช้อักษร Marking ที่แตกต่างกันออกไปจากเอเชียโดยใช้อักษร A สำหรับชนิด Linear ใช้อักษร C สำหรับ Log ( Audio ) และใช้อักษร F สำหรับชนิด Inverse Log / Anti log
ข้อสังเกตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากผลิตในเอเชียและอุปกรณ์จำนวนมากในตลาดจึงมีสัญลักษณ์ ( Marking ) เป็นแบบโซนเอเชีย ในไทยน่าจะยึดแบบเอเชีย Marking
ตัวต้านทานปรับค่าได้
3 ขา หรือ โพเทนชิโอมิเตอร์ชนิด A B C
คำถามโวลลุ่ม / วอลลุ่มปรับเสียงเป็นโพเทนชิโอมิเตอร์ชนิด A หรือ B หรือ C
? ..... คำตอบคือชนิด A เนื่องจากธรรมชาติการได้ยินความดังของคนเราจะเป็นแบบ
Log ( Audio ) คือในช่วงแรกจะค่อยๆดังขึ้นเมื่อปรับจนจึงจุดหนึ่งความดังจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเป็นแบบกราฟ
Log ดังนั้นจึงใช้โพเทนชิโอมิเตอร์ชนิด A เป็นวอลลุ่มปรับความดังของเสียง
ส่วนโพเทนชิโอมิเตอร์ชนิด B ( Linear ) จะใช้กับงานที่ต้องการการเปลี่ยนแรงของแรงดันหรือสัญญาณแบบเชิงเส้น
เช่นวงจรแบ่งแรงดัน
ตัวต้านทานปรับค่าได้
3 ขา 1K 10K 100K ชนิด B (
Linear )
ตัวต้านทานปรับค่าได้
3 ขา 5K 50K 500K ชนิด B (
Linear )
ตัวต้านทานปรับค่าได้
3 ขา 20K ชนิด A
( Log / Audio )
ตัวต้านทานปรับค่าได้
3 ขา 50K ชนิด A
( Log / Audio )
ตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขา สามารถต่อใช้งานได้แบบ 2 คือ
1) ใช้เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้ 2 ขา โดยต่อใช้แค่ขากลางและขาริมด้านใดด้านหนึ่งส่วนขาที่ 3 ปล่อยไว้หรือซ๊อตกับขากลางก็ได้ จุดประสงค์การใช้งานแบบที่หนึ่งนี้คือจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้า
2) ต่อใช้งานเป็นโพเทนชิโอมิเตอร์โดยต่อใช้งานทั้ง
3 ขาจุดประสงค์การต่อแบบที่สองคือเป็นวงจรแบ่งแรงดัน ดูรูปวงจรด้านล่างประกอบ
ต่อใช้งานเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้ 2 ขา จะใช้แค่
2 ขา โดยใช้ตัวต้านทานทำหน้าที่จำกัดปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ( Current Limiting
)
ใช้แค่
2 ขา ขาที่
3 ปล่อยลอยไว้