อ่าน 25 บทความในเว็บนี้ เลื่อนหน้าตรงด้านล่างสุดของจอ เนื้อหาอธิบายเกี่ยวกับ การเทียบเบอร์อะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ อะไหล่ช่าง ดูที่เมนูด้านล่างสุด และ เมนูด้านข้างเพิ่ม
การเลือกใช้ตัวต้านทานและการเทียบตัวต้านทาน ตัวต้านทานใช้แทนได้ไหมและถามค่าอาร์ที่จะใช้แทนสามารถหาตำตอบจากบทความ
เทียบสเปคไอจีบีทีเพื่อเทียบเบอร์ IGBT
หลักการพื้นฐาน เทียบเบอร์ IGBT
ไอจีบีที ( IGBT) นิยมใช้กับวงจรที่มีกระแสและแรงดันสูง ความถี่ในการสวิตชิ่งสูง( แต่ความถี่ยังไม่สูงเท่ากับมอสเฟต) การทำงานของ IGBT คล้ายกับมอสเฟตจะเห็นว่ามีชื่อพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าเหมือนกัน แต่ถ้าพิจารณาระดับโครงสร้างข้างในจะแตกต่างกัน การเทียบสเปคไอจีบีทีต้องเทียบค่ากระแส แรงดันและพารามิเตอร์ที่เกียวกับระยะเวลาการสวิตชิ่ง : Turn on time , turn off time , ค่าความจุอินพุตและเอาต์พุต การสูญเสียของ IGBT มีการสูญเสียจากการสวิตชิ่ง ( Switching loss) และการสูญเสียขณะนำกระแส ( conduction loss) ค่า V(CE_sat) ยิ่งน้อยยิ่งดีเพราะจะทำให้ค่าการสูญเสียขณะนำกระแสน้อยตามไปด้วย
ค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าของ IGBT มีจำนวนมากแต่ให้ไล่เช็คค่าที่สำคัญอันดับต้นๆให้ผ่านก่อน ค่าระยะเวลา ON และ OFF ค่าความจุและค่าประจุ Qg มีผลต่อความเร็วในการสวิตชิ่งและการสูญเสียจากการสวิต ( switching loss)
V(CES) collector -emitter voltage , maximum C-E voltage with gate-emitter shorted
VCE_sat) collector-emitter saturation voltage
I(C) collector current , maximum DC collector current
P(D) device dissipation @ T(c)= 25°C
V(GES) Gate to emitter voltage
V(GE_th) Gate to emitter threshold voltage
T(on) Turn-on time
T(r) Rise time
T(off) Turn-off time
T(f) Fall time
Cies Input capacitance
Coes Output capacitance
Gg Gate charge capacity , gate charge to turn on IGBT
อ่านเพิ่ม หัวข้ออื่นๆ
- เทียบเบอร์ไดโอด
- เทียบเบอร์ไตรแอค
- เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์
- เทียบเบอร์ SCR หลักการพื้นฐาน
- เทียบสเปคคาปาซิเตอร์ C
- เทียบสเปคตัวต้านทาน R
- เทียบสเปคไอจีบีทีเพื่อเที
ยบเบอร์ IGBT - ออปโต้คัปเปลอร์ Optocoupler หลักการเทียบสเปค
- วิธีการใช้หนังสือ ECG หรือวิธีเปิดหนังสือ ECG
- หลักการเทียบเบอร์ ตามแนวหนังสือ ECG
ไอซี ออปโต้คัปเปลอร์ Optocoupler หลักการเทียบสเปค
หลักการเทียบสเปค ไอซี ออปโต้คัปเปลอร์ Optocoupler
ออปโต้คัปเปลอร์มีอินพุตและเอาต์พุต ภาคอินพุตและเอาต์พุตเชื่อมกันด้วยแสง กล่าวอีกอย่างภาคอินพุตกับเอาต์พุตไม่ได้เชื่อมกันทางไฟฟ้า ใช้กับวงจรที่ภาคอินพุตกับเอาต์พุตมีระบบกราวด์ต่างกัน หรือต้องการแยกกราวด์ระหว่างอินพุตกับเอาต์พุตเพื่อความปลอดภัยและมาตรฐานความปลอดภัยกำหนดไว้ ความผิดปกติของวงจรที่ภาคอินพุตหรือเอาต์พุตจะไม่ส่งผลระหว่างกัน การเทียบสเปคออปโต้คัปเปลอร์ต้องดูโครงสร้างข้างในเพราะภาคเอาต์พุตอาจเป็นโฟโต้ทรานซิสเตอร์ โฟโต้ไทริสเตอร์ ( SCR Triac ) และ Photo FET ตัวอย่างชื่อของ Output เช่น NPN Transistor , NPN Darlington , NPN Dual Transistor , Low input Drive NPN Transistor , SCR , Triac , Triac with zero crossing circuit , FET , Hi speed open collector , Open collector NPN Transistor NAND Gate , NPN split darlington , Dual open collector NPN transistor .เทียบเบอร์ไตรแอค หลักการพื้นฐานเทียบสเปคไตรแอค ( Triac )
หลักการพื้นฐานเทียบสเปคไตรแอค ( Triac )
ไตรแอคเป็นอุปกรณ์ที่นำกระแสค้างได้ สั่งให้ ON ผ่านขา G แต่ไม่สามารถสั่งให้ OFF ผ่านขา G ได้ วิธีการให้ไตรแอคหยุดนำกระแสต้องใช้วงจรอีกชุดควบคุมกระแสและแรงดันที่ขา A1 และ A2 ค่าพารามิเตอร์หรือสเปคทางไฟฟ้าของไตรแอคมีจำนวนมาก ให้เริ่มพิจารณาจากค่าที่สำคัญที่สุดให้ผ่านก่อนเพื่อดูความเป็นไปได้ว่าจะมีโอกาสใช้แทนเบอร์เดิมได้แค่ไหน หลักๆให้พิจารณาค่ากระแส แรงดัน ระยะเวลานำกระแสและหยุดนำกระแส ( Turn ON and Turn OFF time ) นอกจากนี้ให้ดูค่า di/dt อัตราการเปลี่ยนแปลงกระแส และ dv/dt อัตราการเปลียนแปลงแรงดัน 2 ค่าสุดท้ายนี้ต้องใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้ ถ้าใช้ค่าน้อยกว่ามันจะทนกระแสและแรงดันไม่ได้มีโอกาสเสียหายสูงมากหรือเสียง่ายอ่านเพิ่ม หัวข้ออื่นๆ
เทียบเบอร์ SCR หลักการพื้นฐาน
หลักการพื้นฐาน เทียบเบอร์ SCR
หลักการพื้นฐานเพื่อเทียบสเปค SCR เบอร์เก่ากับเบอร์ใหม่ว่ามีโอกาสใช้แทนได้ไหม ค่าทางไฟฟ้าหรือพารามิเตอร์ของ SCR มีหลายอย่างแต่จะเริ่มพิจารณาค่าที่สำคัญที่สุดก่อน เอสซีอาร์มีชื่อเรียกอีกชื่อว่าไทริสเตอร์ สามารถนำกระแสค้างได้ เมื่อมีแรงดันไฟฟ้าทีขา A และ K เอสซีอาร์จะยังไม่นำกระแสเมื่อมีแรงดัน V(GT) และกระแส I(GT) มาทริกที่ขา G มันจีงจะนำกระแส เมื่อต้องการสั่งให้ SCR หยุดนำกระแสไม่สามารถสั่งที่ขา G ได้ ต้องใช้วงจรควบคุมอีกชุดมาควบคุมแรงดันและกระที่ขา A และขา K การนำ SCR ไปใช้งานห้ามนำไปใช้ที่จุดพังทลายหรือ Break Down ปกติจะมีวงจรสนับเบอร์เพื่อป้องกัน SCR เสียหายจากแรงดัน dV/dt ที่มากเกินไป ค่าทางไฟฟ้าที่ต้องเช็คเป็นอันดับต้นๆเพื่อประเมินว่าจะใช้แทนได้หรือไม่มีดังนี้
1) I(GT) กระแสทริกขาเกต ให้เช็คค่า Min ค่า Max
2) V (GT) แรงดันทริกขาเกต ให้เช็คค่า Min ค่า Max
3) แรงดัน V(DRM) = Repetitive peak off-state voltage เป็นแรงดันที่ขา A และ K
4) กระแส I(T) rms = On-state rms current ต้องเท่ากันหรือมากกว่าได้
5) กำลังไฟฟ้า P = average power dissipation
6) กระแส I (H) Holding current
7) กระแส I(L) Latching current
8) V(F) = Peak forward volate drop เป็นแรงดันที่ตกคร่อมขา A และ K ของ SCR ขณะนำกระแส
9) di/dt อัตราการเปลี่ยนแปลงกระแส ค่า Max
10) dv/dt อัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดัน ค่า Max
11) t(gt) Turn-on Time เวลาที่ขาเกต หรือ G ใช้ในการ ON
12) t(q) Turn-off Time เวลาที่ต้องใช้เพื่อให้ขา A และ K หยุดนำกระแส
ให้เช็คค่าที่สำคัญเหล่านี้ก่อนจากนั้นค่อยเช็คพารามิเตอร์อื่นๆ