การอ่านค่าวาริสเตอร์และการหาเบอร์วาริสเตอร์ 220V 250V จากตาราง อาการวาริสเตอร์เสีย

การอ่านค่าวาริสเตอร์   การหาเบอร์วาริสเตอร์  และ  อาการวาริสเตอร์เสีย

วาริสเตอร์กันฟ้าผ่าจะมีอาการเสียที่ชัดๆคือไหม้หรือระเบิด และอาการเสียอีกแบบคือเมื่อวัดด้วยย่านโอห์มแล้วขึ้นค่าความต้านทาน  วาริสเตอร์กันไฟเกินที่ปกติดีนั้นจะวัดไม่ขึ้นค่าความต้านทานเลย  เนื่องจากมันมีค่าความต้านทานสูงมาก  เมื่อพบตัวเสียต้องหาอะไหล่มาแทนถึงตอนนี้การอ่านค่าวาริสเตอร์เพื่อหาเบอร์แทนเป็นสิ่งที่ต้องการ   จะยกตัวอย่างการอ่านค่า Varistor  มา   2  แบบ  ในงานซ่อมอาจเจอแบบใดก็ได้ดังนั้นถ้าทราบไว้ทั้ง 2 แบบก็จะดี   นอกจากนี้ด้านล่างยังมีรายละเอียดอื่นๆที่สำคัญ   เช่น วาริสเตอร์ที่ใช้กับไฟ  220Vac   ไฟ 250Vac  คือเบอร์อะไร   ?  สัญลักษณ์ของวาริสเตอร์ที่พิมพ์ไว้บนแผ่น PCB มีลักษณะเป็นอย่างไร  ?    หาคำตอบด้านล่างได้เลย


อ่านค่าวาริสเตอร์   เบอร์วาริสเตอร์   อาการวาริสเตอร์เสีย



การอ่านค่าวาริสเตอร์แบบที่  1  
เบอร์ลักษณะ    TVR20431  ดูรูปประกอบ
TVR  เป็นรหัสที่บอกให้รู้ว่าเป็นวาริสเตอร์
20 เป็นขนาด Body Size  ของแผ่น Disk = 20mm    โดยมีขนาดอื่นๆดังนี้ซึ่งเป็นค่าโดยประมาณขนาดอาจมีค่า + -    ในการหาเบอร์แทนสามารถใช้เบอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้  ( แรงดันต้องค่าเท่าเดิมหรือบางวงจรอาจใช้ค่าใกล้เคียงได้)

TVR05    =  5mm
TVR07    =  7mm
TVR10    =  10mm
TVR14    =  14mm
TVR20    =  20mm

431 เป็นวาริสเตอร์โวลเตจ ( Varistor voltage ) หรือแรงดันที่มันทำงานป้องกันโดยทดสอบที่ @ 1mA DC เป็นค่าของไฟ DC    มีวิธีอ่านค่าเหมือนกับตัวต้านทาน  เช่น
431     =   43 x10   =  431V     โดยตัวคูณ   10 มาจาก 10 ยกกำลัง 1  =  10
180     =   18x1      =   18V      โดยตัวคูณ   1   มาจาก 10 ยกกำลัง 0  =  1 
220     =    22x1     =   22V
470     =    47x1     =   47V
301     =    30x10   =  300V
391     =    39x10   =  390V


การอ่านค่าวาริสเตอร์แบบที่  2    
เบอร์ลักษณะ     VDR14D431K
VDR  เป็นรหัสที่บอกให้รู้ว่าเป็นวาริสเตอร์
14 เป็นขนาดของแผ่น Disk = 14mm    โดยมีขนาดอื่นๆ ตามด้านล่างนี้ซึ่งเป็นขนาดโดยประมาณอาจมีค่า  + -     อักษร D หมายถึงเป็นแผ่นกลมแบบ Disk  ในการหาเบอร์แทนสามารถใช้เบอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้

05D  =  มีขนาด  Dia  5mm
07D  =  มีขนาด  Dia  7mm
10D  =  มีขนาด  Dia  10mm
14D  =  มีขนาด  Dia  14mm
18D  =  มีขนาด  Dia  18mm
20D  =  มีขนาด  Dia  20mm


431 เป็น  Varistor Voltage มีวิธีการอ่านค่าเหมือนกับข้อ 1
อักษร K  เป็น % คาดเคลื่อน ( Tolerance ) มักพบเบอร์ที่เป็นอักษร K  เป็นส่วนใหญ่  เช่น   VDR14D431K

K  =    ±10% 
L  =    ±15%
M =    ±20%


วิธีหาเบอร์วาริสเตอร์   220Vac    250Vac   จากตารางวาริสเตอร์
ต้องการหาเบอร์วาริสเตอร์เพื่อใช้กับวงจรไฟ ac  220V   ให้ดูช่อง Maximum Allowable Voltage จะเป็นแรงดันไฟปกติค่าสูงสุดและต่อเนื่องของวงจร กรณีใช้กับไฟ 220Vac จะใช้เบอร์ที่มีค่าแรงดันสูงขึ้นมาคือ 250V  ดูช่อง  Maximum Allowable Voltage =  250V rms  ในตาราง
วาริสเตอร์ที่มีค่า Varsistor Voltage =  250V  คือเบอร์  TVR14391   14D391K  เป็นขนาด 14mm 
และ   TVR20391    20D391K   เป็นขนาด 20mm  
ขนาด Disk ที่ใหญ่จะทนพลังงานได้สูงกว่าขนาด Diskที่เล็ก ในงานซ่อมให้ใช้ขนาดเท่าเดิม ( ใหญกว่าได้กรณีใส่ได้พอดี )


ตารางวาริสเตอร์




สัญลักษณ์วาริสเตอร์และ วาริสเตอร์ไฟ   dc 
วาริสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีขั้วเหมือนตัวต้านทาน กรณีต้องการนำไปใช้กับไฟ DC  ให้ดูช่อง Maximum Allowable Voltage ค่า VDC 
เช่นเบอร์  14D180L  มีค่า Maximum  Allowable Voltage  =  14VDC  มี % คาดเคลื่อน L = 15%  ทำงานในช่วง 18(15-21)   =  Varistor Voltage at   1mA  DC

ตารางเบอร์วาริสเตอร์


                                             
                                              สัญลักษณ์วาริสเตอร์



เลือกหัวข้อ  อ่านต่อ

อ่านค่า   R   4  แถบสี

อ่านค่า  R    5  แถบสี

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าเบอร์วาริสเตอร์  ( Varistor )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป 


อ่านต่อ    หัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจต่อ    ดูหัวข้อด้านล่าง

แนวทางเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ TIP41C C6090 BD139 และ MJE340

เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์  TIP41C  C6090  BD139  และ  MJE340

เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ต้องเช็คค่าอะไรบ้าง   ค่าทางไฟฟ้าต่างๆที่จำเป็นต้องเช็คแสดงในตารางด้านล่างสุด จะใช้ทรานซิสเตอร์ 4  เบอร์เป็นตัวอย่างคือ   TIP41C  C6090   BD139  และ MJE340      หลักการเทียบเบอร์คือ  ต้องหาเบอร์ใหม่ที่มีค่าทางไฟฟ้าใกล้เคียงเบอร์เก่าให้มากที่สุดหรือสเปคดีกว่า  เริ่มจากเปรียบเทียบค่ากระแส แรงดันและวัตต์ ต้องค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้  อัตราขยายใกล้เคียงเบอร์เดิม  ส่วนความถี่ ft  ก็ให้ใกล้เคียงเบอร์เดิมอย่าใช้เบอร์ที่มีความถี่  ft มากเกินไปเนื่องจากวงจรอาจมีปัญหาจากความถี่สูงที่เข้ามาในวงจรได้  หลังจากเช็คค่าทางไฟฟ้าแล้ว   ให้เช็คตำเหน่งขา(การเรียงขา)  และตัวถังของทรานซิสเตอร์ต้องเหมือนแบบเดิมจะได้ไม่ต้องดัดแปลงและใส่ได้พอดี   การหาเบอร์แทนทรานซิสเตอร์ให้ทำเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น  เช่นเบอร์เก่าเลิกผลิตหรือเบอร์เก่าหายากมาก   ถ้าเบอร์เก่ายังหาได้ง่ายอยู่ให้ใช้เบอร์เดิม วิธีสังเกตว่าเบอร์เก่าหาอะไหล่ได้ง่ายคือให้ใช้เบอร์เดิมค้นหาในกูเกิลจะเจอร้านอะไหล่ต่างๆในไทยขึ้นมา  มีอีกหนึ่งกรณีที่ช่างอยากเทียบหาเบอร์แทนคือเบอร์เก่าเสียบ่อยและใช้ไม่ทนจึงจำเป็นต้องหาเบอร์ใหม่ที่มีสเปคดีกว่าและใช้ทนกว่า  

ข้อสังเกตการเทียบเบอร์มีหลายกรณีดังนี้     1)  ได้เบอร์แทนสเปคตรง ต่างกันเพียงยี่ห้อผู้ผลิต     2)  ได้เบอร์แทนสเปคดีกว่า   และ   3)  บางเบอร์ไม่มีเบอร์แทนสเปคตรงเลยมีเพียงเบอร์สเปคใกล้เคียงเท่านั้น กรณีที่ 3 นี้ช่างต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในการเลือกอะไหล่

  
เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์  TIP41C  C6090  BD139  และ  MJE340



เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ 4 เบอร์ตัวอย่าง

1)  TIP41C   เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN    6A   100V  65W   Vceo = 100V ,  Vebo = 5V  , อัตราขยาย hFE = Min 15 - Max  75    ตัวถัง TO-220  การเรียงขา  B  C  E มองจากด้านหน้า  คุณสมบัติเด่นของเบอร์นี้คือ High switching speed  และอัตราขยายมีความเป็นเชิงเส้นมากขึ้น (hFE improved linearity)  เบอร์นี้เหมาะกับการใช้งานหลายด้าน  เช่น Audio amplifier ,  วงจร power linear & switching และวงจรพื้นฐาน

เบอร์ใกล้เคียงคือ ( ไม่ใช้เบอร์แทนโดยตรงคือเป็นเบอร์มีสเปคใกล้เคียงกัน )
TIP41B     เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN    6A   80V    Vceo = 80V ,  Vebo = 5V  , อัตราขยาย  hFE = Min 15 - Max  75
ตัวถัง TO-220   การเรียงขา  B  C   E มองจากด้านหน้า  คุณสมบัติเด่นของเบอร์นี้คือ High switching speed  และอัตราขยายมีความเป็นเชิงเส้นมากขึ้น (hFE improved linearity)  เบอร์นี้เหมาะกับการใช้งานหลายด้าน  เช่น Audio amplifier ,  วงจร power linear & switching และวงจรพื้นฐาน สเปคใกล้เคียงเบอร์เดิมมากที่สุด  ต่างกันตรงแรงดัน Vceo น้อยกว่า  กรณีนี้ต้องเช็คแรงดันไฟฟ้าของวงจรร่วมด้วยว่าเบอร์ใหม่จะทนได้หรือไม่ถ้าแรงดัน Vceo น้อยกว่า  ( แรงดันของวงจรจริงๆอาจไม่สูงก็เป็นไปได้ )

TIP3055   เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN    15A   60V  90W   Vceo = 60V ,  Vebo = 7V  , อัตราขยาย hFE = Min 20 - Max  70   ตัวถัง TO-247  การเรียงขา  B  C   E มองจากด้านหน้า  เบอร์นี้เหมาะกับการใช้งานหลายด้าน  เช่น Audio amplifier ,  วงจร power linear & switching และวงจรทั่วไป  เป็นเบอร์สเปคใกล้เคียง ต้องดูแรงดันของวงจรอีกรอบว่าเกินสเปคของทรานซิสเตอร์เบอร์นี้หรือไม่ ?


2)  C6090 =  2SC6090  เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN    10A   700V  35W   Vceo = 700V ,  Vebo = 5V  , อัตราขยาย hFE = Min 15 - Max  ?    ตัวถัง TO-220F  การเรียงขา  B  C   E  มองจากด้านหน้า ข้างในไม่มีไดโอด   คุณสมบัติเด่นของเบอร์นี้  High speed switching  เบอร์นี้เหมาะกับการใช้งาน ฮอร์เอาพุตของ TV

เบอร์ใกล้เคียงคือ ( ไม่ใช้เบอร์แทนโดยตรงคือเป็นเบอร์มีสเปคใกล้เคียงกัน )
2SC5299   เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN    10A   800V  70W   Vceo = 800V ,  Vebo = 6V  , อัตราขยาย hFE = Min 20 - Max  30    ตัวถัง TO-3PML   การเรียงขา  B  C   E  มองจากด้านหน้า  ข้างในไม่มีไดโอด  คุณสมบัติเด่นของเบอร์นี้  High speed   เบอร์นี้เหมาะกับการใช้งาน ฮอร์เอาพุตของ TV


3)  BD139     เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด   NPN  80V   1.5A        Vceo = 80V ,  Vebo = 5V  , อัตราขยาย hFE = Min 40 - Max  250    ตัวถัง   TO126-3       การเรียงขา  E  C  B    มองจากด้านหน้า  การใช้งาน audio amplifier    วงจร driver  และวงจรที่ใช้งานทรานซิสเตอร์เป็นคู่  NPN-PNP

เบอร์ใกล้เคียงคือ ( ไม่ใช้เบอร์แทนโดยตรงคือเป็นเบอร์มีสเปคใกล้เคียงกัน )
2SD669      เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด   NPN  120V   1.5A        Vceo = 120V ,  Vebo = 5V  , อัตราขยาย hFE = Min 60 - Max  320    ตัวถัง   TO126-3       การเรียงขา  E  C  B    มองจากด้านหน้า   ถ้าหาเบอร์เดิมได้อยู่ให้ใช้เบอร์เดิมจะดีกว่าเพราะเบอร์ใหม่สเปคใกล้เคียง


4)   MJE340    เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด   NPN  300V   0.5A        Vceo = 300V ,  Vebo = 3V  , อัตราขยาย hFE = Min 30 - Max  240    ตัวถัง   TO126-3       การเรียงขา  E  C  B    มองจากด้านหน้า  การใช้งานของเบอร์นี้คือ  Audio Power Amp  และ  High voltage converter  รวมถึงวงจรพื้นฐาน  
เบอร์ใกล้เคียงคือ ( ไม่ใช้เบอร์แทนโดยตรงคือเป็นเบอร์มีสเปคใกล้เคียงกัน )
KSE340  เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด   NPN  300V   0.5A        Vceo = 300V ,  Vebo = 5V  , อัตราขยาย hFE = Min 30 - Max  240    ตัวถัง   TO126-3       การเรียงขา  E  C  B    มองจากด้านหน้า  ให้สังเกตเบอร์จะมีรหัส 340 เหมือนกัน   สเปคใกล้เคียงกันมากๆ แตกต่างกันในส่วนรายละเอียดย่อยเนื่องจากคนละผู้ผลิต



ตารางค่าทางไฟฟ้าของทรานซิสเตอร์เปรียบเทียบเพื่อหาเบอร์แทน  /  เบอร์ใกล้เคียง




อ่านหัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจต่อ    ดูหัวข้อล่างนี้

วิธีดูมอสเฟตกับทรานซิสเตอร์ ตารางเทียบเบอร์มอสเฟต และ รวมเบอร์มอสเฟตอินเวอร์เตอร์

วิธีดูมอสเฟตกับทรานซิสเตอร์      รวมเบอร์มอสเฟตอินเวอร์เตอร์   

รายละเอียดเกี่ยวกับมอสเฟตแบ่งออกเป็น  3 ตอน   1)  วิธีดูมอสเฟตกับทรานซิสเตอร์   2) รวมเบอร์มอสเฟตอินเวอร์เตอร์     3) ตารางเทียบเบอร์มอสเฟต   ใช้เป็นตัวอยางและสังเกตลักษณะเบอร์แทน 

วิธีดูมอสเฟตกับทรานซิสเตอร์  
มอสเฟตจะมีขา  G  D  S  ส่วนทรานซิสเตอร์จะมีขา  B  C  E  ไม่สามารถใช้รูปร่างของอุปกรณ์บ่งบอกชนิดได้เนื่องจากตัวถังอุปกรณ์อาจเหมือนกันได้  ให้ดูเบอร์แล้วนำไปค้น Datasheet  จะแน่นอนที่สุด อย่างไรก็ตามพอมีข้อสังเกตเกี่ยวกับเบอร์อุปกรณ์อยู่บ้าง เช่น
เบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย  2SA...  2SB..  2SC... 2SC จะเป็นทรานซิสเตอร์  ส่วนเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย 2SJ....  2SK  เป็นอุปกรณ์พวกเฟต ลองใช้หลักการเบอร์ขึ้นต้นไปสังเกตชนิดอุปกรณ์ต่างๆเพิ่ม   เช่น ถ้าขึ้นต้นด้วย  IRF...    IRFP...   IXF ...  FQP....  STW...  เป็นมอสเฟต  
ถ้าเบอร์ขึ้นต้นด้วย  IRG...    FGH... เป็น   IGBT   เป็นต้น


เบอร์มอสเฟตอินเวอร์เตอร์  เทียบเบอร์มอสเฟต



มอสเฟตอินเวอร์เตอร์
ให้ดูขนาดกระแสและแรงดันก่อน จากนั้นค่อยดูค่าทางไฟฟ้าอื่นๆต่อไปใน Datasheet
IRFP450   14A   500V    มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
IRFP460   20A   500V    มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
IRFP360   23A   400V    มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
IPW60R160C6       23.8A   600V   มีไดโอดข้างใน    การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
STW43NM60ND    35A      600V   มีซีเนอร์ไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
STW48N60DM2     40A      600V   มีซีเนอร์ไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
IRFZ44N                 49A      55V      มีไดโอดข้างใน
IRFP260N              50A       200V    มีซีเนอร์ไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
IRF3710                 57A       100V    มีซีเนอร์ไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
IXFX94N50P2        94A       500V   มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
FTP11N08A           100A     75V      มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
IRF3205                110A      55V      มีซีเนอร์ไดโอดข้างใน 
IRFP064N             110A       55V     มีซีเนอร์ไดโอดข้างใน
HY1906P      120A     60V     มีไดโอดข้างใน   การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
HY3215W     120A   150V     มีไดโอดข้างใน   การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
HY3810P      180A    100V    มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S   มองจากด้านหน้า
HY3912W     190A    125V    มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S   มองจากด้านหน้า
HY4008         200A    80V     มีไดโอดข้างใน   การเรียงขา G-D-S  มองจากด้านหน้า
HY4008W      200A    80V     มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S   มองจากด้านหน้า
HY5012W      300A    125V   มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S   มองจากด้านหน้า
HY5110W      316A    100V   มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S   มองจากด้านหน้า
HY5608W      360A    80V     มีไดโอดข้างใน  การเรียงขา G-D-S   มองจากด้านหน้า


ตารางเทียบเบอร์มอสเฟต
ข้อมูลในตารางมาจากหนังสือ ECG  แสดงเพื่อเป็นตัวอย่างและให้สังเกตลักษณะเบอร์ที่ใช้แทนกันได้
ข้อมูลในหนังสือ ECG ไม่ได้ Update มานานแล้วและเบอร์ใหม่ๆ อาจไม่มี แต่ข้อมูลบางอย่างยังใช้เป็นแนวทางได้เพราะหลักการยังคงเหมือนเดิม
แนวทางเทียบเบอร์มอสเฟตด้วยตัวเอง    อ่านที่หัวข้อนี้    https://www.alternativeelecpn.com/2022/08/irf740-irf630-irf3205-irfp460-irfp250.html



ตารางเทียบเบอร์มอสเฟต  เทียบเบอร์มอสเฟต

ตารางเบอร์มอสเฟต  เทียบเบอร์มอสเฟต



อ่านต่อ    หัวข้ออื่นๆ   

เรียนอิเล็กทรอนิกส์ฟรี    เรื่องการเทียบเบอร์อะไหล่


วิธีหาเบอร์แทนมอสเฟต IRF740 IRF630 IRF3205 IRFP460 IRFP250 และ 10P20 10N20 MOSFET

หาเบอร์แทนมอสเฟต   IRF740    IRF630      IRF3205    IRFP460  IRFP250    และ   10P20  10N20 MOSFET 

วิธีการเทียบเบอร์หรือวิธีหาเบอร์แทนมอสเฟตให้ใช้ตารางในบทความนี้ที่อยู่ด้านล่างสุดเป็นแนวทาง   ถ้าหาเบอร์เดิมได้ให้ใช้เบอร์เดิมจะดีที่สุด กรณีจำเป็นต้องเทียบเบอร์ให้เทียบค่าทางไฟฟ้าให้ได้ใกล้เคียงเบอร์เดิมให้มากที่สุด  ขั้นตอนการเทียบเบอร์เริ่มจาก

1)   เทียบกระแส I(D)  และ แรงดัน V(DSS) และกำลังไฟฟ้าหรือวัตต์ P   ต้องเท่าค่าเดิมหรือมากกว่าก็ได้
2)   แรงดันไฟควบคุม V  (GS-th) ต้องเท่าเดิมหรือใกล้เคียงค่าเดิมให้มากที่สุด
3)   การสูญเสียขณะทำงานคือ  ค่าความต้านทาน   Rds (on) ต้องใกล้เคียงค่าเดิม หรือน้อยกว่าได้
4)   ความเร็วในการสวิตชิ่ง  ค่าเวลา td(on)  td(off)  , tr(rise time) , tf ( fall time)  ต้องใกล้เคียงค่าเดิมหรือเวลาน้อยกว่าได้(เร็วกว่าก็ยิ่งดี)
5)   ตัวถังและตำเหน่งขา  ต้องเหมือนเดิมเพื่อให้ใส่ได้พอดีโดยไม่ต้องดัดแปลง
ุ6)   ชนิด เช่น  N-Channel  หรือ  P-Channel   ?  ชนิดต้องเหมือนเดิม
7)   ข้างในมี Diode ต่ออยู่หรือไม่   ?   ถ้ามีเบอร์ใหม่ต้องมี   Diode  ด้วย
8)   ค่าทางไฟฟ้าอื่นๆ ตามในตาราง


เบอร์แทนมอสเฟต   IRF740    IRF630      IRF3205    IRFP460  IRFP250   10P20  10N20



ตัวอย่างการหาเบอร์แทนมอสเฟต

1)  IRF740   เป็นมอสเฟต   N-Channel   10A   400V  125W    ตัวถัง  TO220AB  การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า ข้างในมีซีเนอร์ไดโอดต่ออยู่กับขา D-S  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ  Switching
เบอร์ใกล้เคียงคือ
2SK1378  เป็นมอสเฟต   N-Channel   10A  400V  125W    การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า ข้างในมีซีเนอร์ไดโอดต่ออยู่กับขา D-S  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ  Hi speed  power   Switching


2)  IRF630  เป็นมอสเฟต   N-Channel   9A   200V  75W    ตัวถัง  TO220   การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ  Switching   ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S  
เบอร์ใกล้เคียงคือ  
2SK1761  เป็นมอสเฟต   N-Channel   12A  250V  75W    การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ  Hi speed  power   Switching
FQP630   เป็นมอสเฟต   N-Channel   9A    200V   78W    การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ  Fast  switching


3)  IRF3205   เป็นมอสเฟต   N-Channel   110A   55V  200W    ตัวถัง  TO220AB    การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ   Fast  Switching   ข้างในมีซีเนอร์ไดโอดต่ออยู่กับขา D-S     
เบอร์ใกล้เคียงคือ    
AUIRF3205  เป็นมอสเฟต   N-Channel   110A   55V  200W    ตัวถัง  TO220AB    การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ   Fast  Switching   ข้างในมีซีเนอร์ไดโอดต่ออยู่กับขา D-S     
IRFB3206   เป็นมอสเฟต   N-Channel   120A   60V  300W    ตัวถัง  TO220AB    การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ    Hi speed  power   Switching       ข้างในมีซีเนอร์ไดโอดต่ออยู่กับขา D-S 


4)   IRFP460   เป็นมอสเฟต   N-Channel   20A   500V  260W    ตัวถัง  TO247AD     การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ     Switching power supply and motor control   ข้างในมีซีเนอร์ไดโอดต่ออยู่กับขา D-S   
เบอร์ใกล้เคียงคือ
IXTH24N50Q   เป็นมอสเฟต   N-Channel     24A  500V   360W    ตัวถัง  TO247      การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ     Switching power supply      ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S   
FCH072N60   เป็นมอสเฟต   N-Channel    52A   600V   481W    ตัวถัง  TO247      การเรียงขา G  D  S มองจากด้านหน้า  การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ     Switching power supply      ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S  


5)   IRF250    เป็นมอสเฟต   N-Channel     30A  200V   190W    ตัวถัง  TO247AD      การเรียงขา  G  D  S มองจากด้านหน้า  ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S     การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ     Switching power supply  , motor control , UPS ,  DC chopper  
เบอร์ใกล้เคียงคือ  
FCH47N60N   47A   600V  368W    ตัวถัง  TO247AD      การเรียงขา  G  D  S มองจากด้านหน้า  ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S     การใช้งานหลักของเบอร์นี้คือ  Solar Inverter  , AC-DC power supply
IXTH48N20     N-Channel  Mosfet     48A  200V   275W     TO247    การใช้งาน Switching Power supply , motor control , UPS 
IXTH41N25     N-Channel  Mosfet        41A    250V    300W  การเรียงขา  G  D  S มองจากด้านหน้า  ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S 
STW46NF30   N-Channel  Mosfet     42A    300V  300W  การเรียงขา  G  D  S มองจากด้านหน้า  ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S 
2SK3778-01           N-Channel  Mosfet    59A  250V   410W   การเรียงขา  G  D  S มองจากด้านหน้า  ข้างในมีไดโอดต่ออยู่กับขา D-S 


6) 10N20  = เบอร์เต็ม  ECX10N20  เป็น  N Channel  และ  10P20  เบอร์เต็ม  ECX10P20  เป็น  P Channel
10N20  =  ECX10N20  เป็นมอสเฟต  N-Channel  8A  200V  125W  การเรียงขา  G  S  D  มองจากด้านหน้า       การใช้งานของรุ่นนี้คือขยายสัญญาณเสียง  linear audio amplier application

เบอร์ใกล้เคียงคือ
คู่ที่ 1
2SK2221   N  Channel  8A    200V   การเรียงขา  G  S  D  มองจากด้านหน้า   ดู Datasheet  ตำเหน่งขาก่อนต่อ
2SJ352      P  Channel  8A    200V   การเรียงขา  G  S  D  มองจากด้านหน้า   ดู Datasheet  ตำเหน่งขาก่อนต่อ

คู่ที่ 2
2SJ162      N  Channel  7A    160V   การเรียงขา  G  S  D  มองจากด้านหน้า   ดู Datasheet  ตำเหน่งขาก่อนต่อ
2SJ162      N  Channel  7A    160V   การเรียงขา  G  S  D  มองจากด้านหน้า   ดู Datasheet  ตำเหน่งขาก่อนต่อ

คู่ที่ 3
2SK1530   N  Channel  12A   200V  การเรียงขา G  D  S  มองจากด้านหน้า  ระวังการเรียงขาไม่เหมือนกันให้เช็คตำเหน่งขาจาก  Datasheet   ก่อนต่อ
2SJ201      P  Channel  12A   200V  การเรียงขา  G  D  S  มองจากด้านหน้า   ระวังการเรียงขาไม่เหมือนกันให้เช็คตำเหน่งขาจาก  Datasheet  ก่อนต่อ



ตารางแนวทางเทียบค่าทางไฟฟ้าของมอสเฟต
เทียบเบอร์มอสเฟต   MOSFET

อ่านต่อ    หัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจ เลือกหัวข้อ   >>




เทียบเบอร์ IGBT เบอร์แทน G40N60 50N60 60N60

เบอร์แทน   เทียบเบอร์    IGBT    G40N60     50N60    60N60 

แนวทางการเทียบเบอร์ IGBT ให้เช็คค่าในตารางด้านล่างสุดเป็นแนวทาง จะใช้เบอร์ G40N60     50N60    และ  60N60  เป็นตัวอย่าง    กรณีหาเบอร์เดิมได้อยู่ให้ใช้เบอร์เดิมจะดีที่สุด  ส่วนกรณีจำเป็นต้องใช้เบอร์แทนจริงๆก็ต้องเช็คค่าทางไฟฟ้าให้ได้ใกล้เคียงที่สุดและโอกาสที่จะใช้แทนกันได้ก็มีมาก  
อันดับแรกให้เช็คค่าทางไฟฟ้าหลักๆ ก่อน  คือ  กระแส Ic   แรงดัน Vce และวัตต์ต้องเท่ากับของเดิมหรือสูงกว่าได้
อันดับ 2   ให้เช็คความสูญเสียขณะ  IGBT  ทำงาน ON   คือค่า Vce sat.   ยิ่งน้อยยิ่งดี
อันดับ 3   ให้เช็คความเร็วในการสวิตชิ่ง   Switching  time  คือค่า  td(ON)  ,  td(OFF)  ,  tf = fall time  และ tr =  rise time     ค่าทางเวลาเหล่านี้ต้องเท่ากับของเดิมหรือเร็วกว่าได้ ส่วนกรณีถ้าได้ค่าเวลาใกล้เคียง  ตอบไม่ได้ว่าจะใช้งานได้ 100%  ช่างต้องทดลอง ผลอาจใช้แทนได้หรือเป็นกรณีอื่นๆก็ได้


เทียบเบอร์  IGBT  เบอร์แทน   G40N60     50N60    60N60


กรณีตัวอย่างเทียบเบอร์  IGBT 

1)  G40N60   40N60  เป็นเบอร์ย่อ ( marking code )   เบอร์เต็มคือ  FGA40N60UFD
มีสเปคทางไฟฟ้า     40A   600V   160W   ความเร็ว  Ultra-Fast    IGBT   ตัวถัง  TO-247  
แรงดันไฟคอนโทรล  Vges =  ±   20V   มีไดโอดอยู่ข้างในดังนั้นเบอร์แทนต้องมีไดโอดอยู่ข้างในด้วย
ลักษณะการเรียงขา G  C  E  เมื่อมองจากด้านหน้า    เบอร์ที่สเปคใกล้เคียงคือ ช่างต้องเช็ครายละเอียดอีกรอบก่อนต่อใช้งานโดยใช้แนวทางในตารางด้านล่างสุด
ข้อควรคำนึงคือถ้าเบอร์เดิมมีไดโอดอยู่ข้างในเบอร์ใหม่ที่จะใช้แทนต้องมีไดโอดอยู่ข้างในด้วยและใช้ค่าที่มีกระแสและแรงดันสูงกว่าได้   รหัส D ต่อท้ายหมายถึงมีไดโอดข้างใน   เบอร์ใกล้เคียงคือ

FGAF40N60UFD    Ultra-Fast        IGBT    40A   600V  100W    มีไดโอดข้างใน
XGH40N60C2D1    HIPER  FAST  IGBT   75A   600V   300W   มีไดโอดข้างใน
IXGR40N60C2D1   HIPER  FAST  IGBT   56A   600V   170W   มีไดโอดข้างใน
IXGX40N60BD1     HIPER  FAST  IGBT   75A   600V   250W   มีไดโอดข้างใน
FGH40N60SFD      Fast      switcing  IGBT  56A  600V   170W   มีไดโอดข้างใน
FGH40N60UFD                   Fast switching  IGBT  40A  600V  290W   มีไดโอดข้างใน
SGF40N60UFD                   High speed  switching   IGBT  40A  600V  96W     มีไดโอดข้างใน
TGAN40N60FD                  High speed  switching   IGBT  40A  600V  231W   มีไดโอดข้างใน


2)  50N60  เบอร์ย่อนี้ให้ระวังเพราะรหัสใกล้เคียงกันมีทั้ง IGBT และ MOSFET ต้องเช็คเบอร์เต็มก่อนว่าเป็นอะไร   ถ้าเป็น IGBT เบอร์เต็มคือ   IXRH50N60    สังเกตลักษณะเบอร์  IGBT เช่น  FGW50N60H   มี  Marking    50G60H  และ   IGB50N60T  มี Marking G50T60 เป็นเบอร์  IGBT    ส่วนตัวอย่างเบอร์มอสเฟตตัวอย่าง  เช่น  IXFH50N60P3    KMB050N60P   FDBL0150N60  
50N60L-TM3-T    กลับมาที่ IGBT เบอร์   IXRH50N60     มีสเปคทางไฟฟ้า   60A  600V  300W  เบอร์นี้เป็นรหัส 50N แต่ตาม Datasheet เบอร์นี้ทนได้  60A    มีคุณสมบัติเด่น   Reverse Blocking capability     IGBT   ตัวถัง  TO-247AD   แรงดันไฟคอนโทรล  Vges =  ±   20V     ลักษณะการเรียงขา G  C  E  เมื่อมองจากด้านหน้า
เบอร์ที่สเปคใกล้เคียงคือด้านล่าง  ช่างต้องเช็ครายละเอียดอีกรอบก่อนต่อใช้โดยใช้แนวทางในตารางด้านล่าง
ข้อควรคำนึงคือถ้าเบอร์เดิมมีไดโอดอยู่ข้างในเบอร์ใหม่ที่จะใช้แทนต้องมีไดโอดอยู่ข้างในด้วยและใช้ค่าที่มีกระแสและแรงดันสูงกว่าได้    เบอร์ใกล้เคียงคือ

FGW50N60H       50A     600V    360W 
FGW50N60HD    50A     600V    360W    ข้างในมีไดโอด  ( รหัส D = มีไดโอดข้างใน )
IGW75N60T        75A     600V    428W  
IKW75N60T        75A     600V    428W
IXGH48N60A3   75A      600V    300W



3)   60N60  เบอร์เต็มคือ   FGH 60N60SMD   60A   600V  600W  Fast  swithching   เบอร์นี้มีไดโอดข้างใน ให้สังเกตจากรหัส SMD ที่ต่อท้าย โดย  D หมายถึงมี Diode / ไดโอด ต่ออยู่ข้างใน
แรงดันไฟคอนโทรล  Vges =  ±   20V     ลักษณะการเรียงขา G  C  E  เมื่อมองจากด้านหน้า
เบอร์ที่สเปคใกล้เคียงคือด้านล่าง   ช่างต้องเช็ครายละเอียดอีกรอบก่อนต่อใช้โดยใช้แนวทางในตารางด้านล่าง
ข้อควรคำนึงคือถ้าเบอร์เดิมมีไดโอดอยู่ข้างในเบอร์ใหม่ที่จะใช้แทนต้องมีไดโอดอยู่ข้างในด้วยและใช้ค่าที่มีกระแสและแรงดันสูงกว่าได้   เบอร์ใกล้เคียงคือ

FGH60N60UFD     120A   600V      298W  
FGH75T65UPD     75A     650V       375W
FGW75N60HD      75A    600V       500W
AOK60B60D1        60A    600V      417W
IRG7PG42UD        85A    1000v      320W
IRG7PH44K10D    70A    1200V     320W
IRG7PH50K10D    90A    1200V     400W
IRGP4266D              140A   650V    455W
IRGP4660D              100A   600V    330W
IRGP4750D              70A     650V    273W
IRGP4790D              140A   650V    455W
IXXH75N60B3D1   160A    600V    750W



ตารางใช้เป็นแนวทางเทียบเบอร์  IGBT

ตารางเทียบเบอร์  IGBT



อ่านต่อ   หัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจ  เลือกหัวข้อ   




การวัดไทริสเตอร์ การวัด SCR  มอดูล  ดีหรือเสีย