การเลือกใช้ตัวต้านทานและการเทียบสเปคตัวต้านทานใช้แทน
สอบถามเรื่องตัวต้านทานใช้แทนได้ไหม และถามค่าอาร์ ตัวต้านทานเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานที่นิยมเทียบสเปคเนื่องจากสามารถเทียบสเปคได้ง่ายและใช้งานแทนได้จริง มีความเสี่ยงน้อยมากที่จะใช้แทนไม่ได้ ข้อมูลที่จำเป็นต้องทราบคือข้อมูลของตัวต้านทานตัวเก่า ถ้าตัวต้านทานไหม้จำเป็นต้องหาข้อมูลค่าของ R จาก ข้อความ ตัวเลข ตัวอักษร จากคู่มือ หรือวิธีการอื่นๆที่นอกตำรา เช่น ถ้ามันขาดก็ลองต่อจุดที่ขาดก่อน จากนั้นเอามัลติมิเตอร์วัดดูค่าโอห์ม จะช่วยให้ประมาณค่า คาดเดาค่าใกล้เคียงที่ควรจะเป็นจากหลักฐานที่มีอยู่สเปคที่ต้องคำนึงถึงในการเทียบสเปคตัวต้านทานมีดังนี้
1). ค่าความต้านทานกี่โอห์ม ? กี่ K Ohm , Mega Ohm ----- ต้องค่าเท่าเดิม
2). % ความคลาดเคลื่อน ----------ต้องเท่าเดิมหรือ % น้อยกว่าได้
3). กำลังไฟฟ้าหรือวัตต์ของตัวต้านทาน ------ ต้องเท่าเดิมหรือมากกว่าได้
4). ชนิดของวัสดุ เช่น ตัวต้านทานเมตัลฟิล์ม ตัวต้านทานคาร์บอนฟิล์ม ตัวต้านทานไวร์วาวด์ ตัวต้านทานทนความร้อน ตัวต้านทานกระเบื้อง เป็นต้น ควรใช้ R ชนิดเดิม บางวงจรใช้ R ต่างชนิดแทนได้
5). ประเภทของวงจรและการใช้งาน จะเป็นตัวกำหนดหรือเลือกชนิดตัวต้านทาน
7). อุณหภูมิแวดล้อมในวงจร จะมีผลต่อความทนและอายุการใช้งานของ R ข้อนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุของ R
6). ขนาดและรูปร่างของตัวต้านทาน ให้ใช้ขนาดเดิมจะดีที่สุด ขนาด R ใส่ได้พอดีไหม ? บางกรณีที่จำเป็นจริงๆอาจมีการดัดแปลงใส่แทน
อ่านหัวข้ออื่นๆที่น่าสนใจต่อ ดูหัวข้อด้านล่างสุด >
การวัด SCR มอดูล หรือ ไทริสเตอร์ มอดูล