หลักการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ มอสเฟต ไดโอด SCR ไตรแอค เทียบเบอร์ IC และอื่นๆ ตามแนวหนังสือ ECG

หลักการเทียบเบอร์   ทรานซิสเตอร์  มอสเฟต   ไดโอด   SCR  ไตรแอค และอื่นๆ  ตามแนวหนังสือ  ECG  Guide

หลักการเทียบเบอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อธิบายไว้ในหนังสือ ECG หรือการใช้หนังสือ ECG   บทความนี้เรียบเรียงจากหัวข้อ  " How to use the ECG Master Replacement  Guide  "  อธิบายหลักการสำคัญไว้ตามด้านล่าง


หนังสือ ecg  เทียบ เบอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์



เนื่องจากเบอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีเป็นจำนวนมากแต่ละปีมีอุปกรณ์ใหม่ๆถูกผลิตขึ้นจำนวนมาก เบอร์เก่าๆเลิกผลิตก็มีเป็นจำนวนมากเช่นกัน เป็นไปไม่ได้ที่จะมีหรือบรรจุเบอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ในหนังสือ ECG ได้ทั้งหมด  ยิ่งปัจจุบันนี้หนังสือเลิกผลิตและไม่ได้ Update นานแล้ว (หนังสือนี้หายาก)     อย่างไรก็ตามหลักการที่สำคัญและแนวทางที่หนังสือ  ECG  แนะนำไว้ยังคงใช้ได้และควรค่าแก่การศึกษาสำหรับช่างในการหาเบอร์แทน  อีกทั้งเกร็ดความรู้ต่างๆเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีแทรกในหนังสือ ECG  นี้ก็มีเป็นจำนวนมากและน่าศึกษา    ถ้าเป็นช่างและทำงานเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควรหาศึกษาไว้


หลักการเทียบเบอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
1. ให้เช็คอีกรอบก่อนใช้เบอร์แทนเสมอ  ( Verify the replacement )  เมื่อได้เบอร์แทนตามที่หนังสือแนะนำไว้แล้ว ให้ตรวจสอบอีกครั้งก่อนใช้งาน   เนื่องจากอุปกรณ์หนึ่งเบอร์มีการประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายวงจร  วงจรที่ซ่อมอยู่อาจแตกต่างจากวงจรมาตรฐานก็เป็นไปได้  ควรตรวจสอบให้แน่ใจเกี่ยวกับตัวถัง ตำเหน่งขา  ขนาด ( Physical dimensions )  และค่าทางไฟฟ้าต่างๆ (  Electrical characteristics )  ก่อนนำไปใช้งานจริงเสมอ
2. การเปิดหนังสือ ECG อาจเจอเบอร์แทนแนะนำไว้ หรือไม่เจอเบอร์แทน    กรณีไม่เจอเบอร์แทนให้ทำตามขั้นตอนดังนี้

การเทียบเบอร์แทนเองนั้นช่างต้องเข้าใจการทำงานของอุปกรณ์
2.1)   เปรียบเทียบค่าทางไฟฟ้า เช่น กระแส แรงดัน ความเร็วในการทำงาน   ความถี่  เป็นต้น
2.2 )  เปรียบเทียบตัวถัง  ตำเหน่งขา และขนาด
2.3 )  เปรียบเทียบฟังก์ชันหรือการทำงาน   ต้องเหมือนกัน
2.4 )  เปรียบเทียบประเภทการใช้งาน ( Application ) หรือชนิดวงจร 
2.5 )   อื่นๆ เช่น มาตรฐานของอุปกรณ์   และ  ระดับ  Class ที่นิยมใช้กันและอ้างอิงในวงการ


ในการเทียบเบอร์แทนอาจได้เบอร์ใหม่แบบต่างๆ  แบ่งประเภทเป็น
- สเปคดีกว่าเบอร์เก่า  เช่น    ทนกระแสได้มากกว่า  ทนแรงดันได้มากกว่า  หรือ มีคุณสมบัติบางอย่างที่ดีกว่า ( superior performance )  เบอร์เก่าเลิกผลิตแล้วปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีกว่าเดิม      กรณีแรกนี้ใช้แทนได้สำหรับงานซ่อม
- เป็นเบอร์แทนโดยตรง ( Direct replacement )   โดยปกติผู้ผลิตจะแนะนำเบอร์แทนโดยตรงไว้  โดยฟังก์ชั่นและตัวถังของอุปกรณ์จะเหมือนกัน และค่าทางไฟฟ้าต่างๆก็ใกล้เคียงกันมาก  เช่น เบอร์หลักของอุปกรณ์เหมือนกันแต่ต่างกันที่โรงงานผลิต  หรือเป็นอะไหล่ OEM ที่เจาะจงผลิตมาเพื่อแทนเบอร์เก่าที่มากับเครื่อง  เป็นต้น 
- เป็นเบอร์สเปคใกล้เคียง  ( possible replacement )   คือฟังก์ชั่นและตัวถังของอุปกรณ์เหมือนกัน แต่ค่าทางไฟฟ้าต่างๆแค่ใกล้เคียงกัน    ช่างต้องใช้ประสบการณ์และความรู้พิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยยึดหลักการและทฤษฏีทางไฟฟ้าไว้เสมอและคำนึงถึงผลที่จะได้ตามมาจากการใช้เบอร์สเปคใกล้เคียงนี้   เช่น กรณีเบอร์ลงท้ายของทรานซิสเตอร์   2SC281 ไม่มี   อาจใช้เบอร์ใกล้เคียงใน Series เดียวกันคือ  2SC281A



เลือกหัวข้อ อ่านต่อ

อ่านค่า   R   4  แถบสี     การอ่านค่าตัวต้านทาน   อ่านสีตัวต้านทาน     4  แถบ

อ่านค่า  R    5  แถบสี    การอ่านค่าตัวต้านทาน   อ่านสีตัวต้านทาน     5  แถบ

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าวาริสเตอร์  ( Varistor )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป