วัดไดโอดบริดจ์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล อย่างรวดเร็วได้ผลเกิน 50%

วัดไดโอดบริดจ์ด้วยมิเตอร์ดิจิตอล

การวัดไดโอดบริดจ์ 4 ขา หรือไดโอดบริดจ์ไฟ  220v  และ  ไดโอดบริดจ์ไฟ  3 เฟส  ก่อนวัดให้ดูตำเหน่งขาก่อนวัดและให้วัดขณะที่ไม่มีไฟ ( วัดนอกวงจร)   สังเกตที่ขา + และ - จะมีไดโอด 2 ตัวต่ออนุกรมกันอยู่  ค่าที่ควรได้ตามทฤษฏีคือ   0.7V  x  2  =  1.4V   ไดโอดบางเบอร์อาจได้  0.4 X  2  =  0.8V  โดยประมาณขึ้นอยู่กับเบอร์


"   ที่ว่าวัดอย่างรวดเร็วคือ ถ้าวัดขั้นตอนที่ 1 แล้วไม่ผ่านหรือเสีย  ก็ไม่จำเป็นต้องวัดขั้นตอนอื่นๆอีกแล้ว  "



วงจรข้างในของไดโอดบริดจ์ไฟ  3  เฟส  สังเกตที่ขา + และ - จะมีไดโอด 2 ตัวต่ออนุกรมกันอยู่



ตำเหน่งขาไดโอดบริดจ์ไฟ  220Vac      ขา + -  อยู่ริม      ขา AC อยู่ด้านใน


ลำดับการวัด
ก่อนวัดปรับมิเตอร์ไปที่ย่านวัดไดโอด ที่หน้าจอจะแสดงสัญลักษณ์ไดโอดเพื่อบอกว่ากำลังอยู่ในโหมดวัดไดโอด

1)    วัดขา + -  ควรมีแรงดัน VF ตกคร่อมไดโอด  0.7V    x  2  =  1.4V  หรือ   ไดโอดบางเบอร์อาจได้     0.4 X  2  =  0.8V   ถ้าวัดและสลับสายวัดแล้วไม่มีแรงดันตกคร่อมไดโอดใดๆ เลยคือเสีย 
Note : ไดโอดมอดูลตัวใหญ่อาจต้องใช้แรงกดด้วย ถ้าวัดหลายครั้งอาจจะมีประจุค้างในรอยต่อ PN  ทำให้ผลการวัดเพี้ยนว่าเสียได้ทั้งๆที่ไม่ได้เสีย ( เป็นบางเบอร์ ให้วัดเทียบกันโดยใช้เบอร์ที่เหมือนกัน )


test  diode   bridge with multimetertest  diode   bridge with multimeter
วัดขา + และ - ควรมีแรงดัน VF ตกคร่อมไดโอด VF x 2  ( 0.7x2 หรือ 0.4x2 โดยประมาณ ) ขึ้นอยู่กับเบอร์



2)   วัดขา AC และขา AC  สายไฟสลับกับสายไฟสลับ ( AC กับ AC )วัดแล้วต้องไม่ขึ้นค่าความต้านใดๆเลย   ( แสดงค่า OL )  คือดี      ถ้าขึ้น 000 คือช๊อตกัน ( เสีย )

test   diode  with   multimeter
วัดขา AC กับ AC ดี  คือแสดง OL 




เลือกหัวข้อ อ่านต่อ

อ่านค่า   R   4  แถบสี

อ่านค่า  R    5  แถบสี

ต่อ คาปาซิเตอร์  C  อนุกรม  และ ขนาน
สูตร  วงจรอนุกรม  วงจรขนาน   กฏการแบ่งกระแส   และ กฏการแบ่งแรงดัน


วัด SCR และไทริสเตอร์มอดูล


วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง


อ่านค่าเบอร์วาริสเตอร์   ( Varistor  )

และหัวข้ออื่นๆ อีกมาก   ให้ดูที่รายการหัวข้อด้านข้าง   หรือ เลื่อนหน้าด้านล่าง  >  เพื่อดูหัวข้อถัดไป